10 วิธีแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

10 วิธีแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

ปัญหาส้วมตัน หรือชักโครกกดไม่ลง นับว่าเป็นปัญหาพื้นฐานที่ทุกบ้านต้องเคยเจอ แม้จะเกิดไม่บ่อยนัก แต่ไม่ว่าจะพบเจอกี่ครั้งก็ยังไม่ชินสักที เพราะชักโครกเป็นที่สำหรับปลดปล่อยของเสีย ดังนั้นหากปล่อยให้ตันหรือกดไม่ลงไปนาน ๆ คงไม่ดีต่อบรรยากาศและสุขอนามัยในบ้านแน่ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคน มาตามหาสาเหตุว่าที่ชักโครกกดไม่ลงนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ และแน่นอนว่ารวมถึง 10 วิธีแก้ปัญหาแบบอยู่หมัดด้วย

ชักโครกกดไม่ลง… มีสาเหตุจากอะไร!?

การจะหาสาเหตุที่ชักโครกกดไม่ลงให้เจอ เราก็จะต้องไล่ดูทั้งหมด ตั้งแต่ตัวชักโครกเอง ระบบท่อน้ำ ไปจนถึงระบบปั๊มน้ำเพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

ปัญหานี้มักจะเจอเมื่อเราใช้ชักโครกไปสักพัก แล้วพบว่าแม้จะกดที่กดชักโครกลงไปแล้ว แต่ก็ไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ เกิดขึ้นเลย นั่นเป็นเพราะสายหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับที่กดชักโครก เกิดการชำรุดหรือเสื่อมสภาพเนื่องจากใช้วัสดุคุณภาพไม่ดี หรือใช้งานมายาวนาน ทำให้ไม่ว่าจะกดเท่าไหร่ น้ำในตัวถังพักน้ำชักโครกก็ไม่ถูกปล่อยลงมาชำระล้างเลยสักนิด

ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ชักโครกกดไม่ลง คือการที่ปริมาณน้ำในถังด้านหลังชักโครกมีไม่เพียงพอ สำหรับกดนั่นเอง ปกติแล้วลูกลอยในถังจะเป็นเหมือนวาล์ว สำหรับเปิด-ปิดให้น้ำไหลเข้าถังได้อย่างเพียงพอ หากลูกลอย ลอยลงต่ำจะเป็นการเปิดน้ำให้เติมเข้ามาในถัง และเมื่อลูกลอย ลอยสูงขึ้นก็เท่ากับน้ำมีปริมาณเพียงพอแล้วจึงหยุดเติมน้ำ แต่หากชักโครกที่บ้านมีอาการผิดปกติไปจากนี้ แสดงว่าอาจกำลังเจอกับอาการลูกลอยเสีย หรือสาเหตุอื่น เช่น ปัญหาระบบปั๊มน้ำ

สาเหตุนี้นับว่าพบได้บ่อยมาก เมื่อเจอปัญหาชักโครกกดไม่ลง ซึ่งมักมีที่มาจากพฤติกรรมการใช้งานของคนในบ้านเอง เช่น การทิ้งกระดาษชำระ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ลงไปในชักโครกจนไปอุดตันอยู่ในท่อระบายน้ำ เมื่อน้ำไหลระบายลงไปไม่ได้ น้ำจึงไหลย้อนกลับจนสร้างภาพไม่น่ามองและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ให้กับห้องน้ำ

ภายในชักโครกของเรา นอกจากจะมีท่อระบายน้ำสำหรับระบายสิ่งปฏิกูลแล้ว ยังมีท่อระบายอากาศสำหรับป้องกันไม่ให้ชักโครกส่งกลิ่นเหม็นด้วย แต่หากใช้งานไม่ระวังอาจทำให้ท่อระบายอากาศนี้อุดตันได้ไม่ต่างจากปัญหาท่อระบายน้ำเลย นอกจากนั้นยังอาจมีสาเหตุมาจาก การติดตั้งท่อระบายอากาศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำด้วย

ถังบำบัด หรือที่เรียกกันว่าบ่อเกรอะ เป็นถังสำหรับรองรับน้ำจากชักโครก สำหรับต้นตอของชักโครกกดไม่ลงซึ่งมาจากถังบำบัดนี้ อาจเป็นไปได้ว่าถังบำบัดถูกติดตั้งไว้ต่ำกว่าท่อระบายน้ำสาธารณะจนไม่สามารถระบายน้ำทิ้งออกได้ดี

ช่างที่ติดตั้งระบบน้ำในห้องน้ำส่วนใหญ่มักจะมีความรู้ และความช่ำชองกันมาพอสมควร ดังนั้นปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ระบบท่อ หรือระบบระบายน้ำ แท้จริงแล้วอาจเป็นเพราะคุณภาพของโถชักโครกเองก็เป็นได้ เช่น การออกแบบระบบไหลเวียนน้ำในชักโครกที่ไม่ดี ก็มีผลทำให้กดชักโครกไม่ลงได้เช่นกัน

10 วิธีแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

10 วิธีแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง

ในเมื่อเราหาต้นตอพบแล้ว ต่อมาก็ได้เวลามากำจัดปัญหาเหล่านั้นทิ้งไป ปัญหาชักโครกกดไม่ลงมีทั้งที่แก้ได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง กับที่เป็นปัญหาใหญ่จนต้องง้อช่าง วันนี้เราได้รวบรวม 10 วิธีแก้ปัญหาแบบอยู่หมัดมาให้แล้ว

1. ปรับพฤติกรรม

ปัญหาชักโครกกดไม่ลง หรือท่อตันส่วนใหญ่แล้วมักมาจากพฤติกรรมของผู้ใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งกระดาษชำระ ผ้าอนามัย หรือการมีเส้นผมหลุดล่วงลงไปอุดตันโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นหากอยากแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลงในระยะยาว ผู้ใช้ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ทิ้งสิ่งที่อาจทำให้เกิดการอุดตันเสียก่อน

2. ราดน้ำ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เหมือนกับเวลาเราใช้โถส้วมที่ต้องอาศัยการราดน้ำหลังเสร็จภารกิจแล้ว สำหรับโถชักโครกก็เช่นเดียวกัน ให้เราเตรียมน้ำใส่ถังประมาณ 10-15 ลิตร จากนั้นเทน้ำจากที่สูงจะทำให้เกิดแรงดันน้ำสูง ช่วยทลายสิ่งอุดตันในชักโครกลงไปได้

3. ลูกยางปั๊มลม 

ไอเทมนี้นับเป็นสิ่งที่มักจะมีติดไว้ในทุกบ้าน เมื่อเจอปัญหาชักโครกกดไม่ลงเมื่อไหร่ แค่หยิบเจ้านี่มาปั๊มบนชักโครกจนกว่าจะไหลลงไป แล้วกดน้ำอีกครั้ง เท่านี้ก็แก้ปัญหาได้ง่าย ๆ แล้ว

4. น้ำยาล้างจานและน้ำร้อน 

แน่นอนว่าบ้านไหน ๆ ก็ต้องมีน้ำยาล้างจานติดบ้านกันอยู่แล้ว และถือว่าเป็นไอเทมสารพัดประโยชน์ที่สามารถนำมาแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลงได้เช่นกัน เพียงแค่เทน้ำยาล้างจานทิ้งไว้ในโถชักโครกประมาณ 15-30 นาที หรือถ้าจะให้ชัวร์ แนะนำให้เทน้ำร้อนตามไปด้วย ทิ้งไว้ไม่เกิน 5 นาทีให้ลองกดชักโครกดู แต่ต้องระวังไม่บีบน้ำยาล้างจานมากเกินไป และน้ำร้อนที่ใช้ไม่ควรเป็นน้ำเดือดเพราะอาจส่งผลเสียต่อโถสุขภัณฑ์ได้

5. เบกกิ้งโซดา น้ำส้มสายชู และน้ำร้อน 

ใครที่เป็นแม่บ้านตัวจริง จะรู้ดีว่าเบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู เป็นวัตถุดิบที่มีประโยชน์ครอบจักรวาลมาก ๆ ทั้งนำมาประกอบอาหารได้ และยังใช้กำจัดปัญหากวนใจในบ้านได้ด้วย อย่างเรื่องชักโครกกดไม่ลงนี้ เราสามารถใช้เบกกิ้งโซดา 1 ถ้วยตวง ตามด้วยน้ำส้มสายชูอีก 1 ถ้วยตวงเทลงไป ปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 นาที แล้วค่อยเทน้ำร้อนตามลงไป จากนั้นก็กดน้ำ เท่านี้ก็เรียบร้อย

6. เทปกาว 

วิธีนี้ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าได้ผลจริง ๆ เพียงแค่นำเทปกาวหรือพลาสติกสำหรับแรปปิ้งมาห่อปิดปากโถชักโครกเอาไว้ให้สนิท เมื่อกดชักโครกแล้วจะเห็นได้ว่าเทปกาวหรือพลาสติกนูนขึ้นมา ให้เราใช้มือกดรอยนูนนั้นลงไป แรงดันอากาศจะช่วยผลักสิ่งอุดตันในท่อออก เพื่อความชัวร์แนะนำให้ทำซ้ำ สัก 1-2 ครั้ง

7. เหล็กทะลวงท่อ

เหล็กทะลวงท่อ หรือที่เรียกกันว่างูเหล็ก เป็นอุปกรณ์สำหรับแก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลงโดยเฉพาะ ลักษณะเป็นสายยาว ๆ ปลายสุดจะเป็นขดสปริงที่สามารถงอได้ วิธีใช้คือให้สอดงูเหล็กนี้เข้าไปในท่อชักโครกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นหมุนสายช้า ๆ เมื่อรู้สึกได้ว่าตัวปลายขดสปริงกระทบกับสิ่งอุดตันแล้วให้ทำการดึงสายเข้าออกจนกว่าสิ่งอุดตันจะหลุดไป

8. โซดาไฟ

สารเคมียอดนิยมสำหรับปัญหาท่ออุดตัน แต่ก่อนจะดำเนินการให้เราสวมถุงมือ รวมถึงแว่นตาให้เรียบร้อย วิธีใช้คือให้เรานำโซดาไฟผสมน้ำอุ่นแล้วเทลงไปในโถชักโครก จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วให้เทน้ำร้อนตามลงไปอีกที และกดชักโครก เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย 

9. น้ำยาล้างท่อ

หากของที่มีอยู่ในบ้านยังไม่ได้ผล เราขอแนะนำให้ใช้น้ำยาล้างท่อซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับกำจัดปัญหาท่อในชักโครกอุดตันโดยเฉพาะ โดยเฉพาะในกรณีที่มีสิ่งอุดตันในปริมาณมาก วิธีใช้ก็ง่ายมาก ๆ เพียงแค่เทน้ำยาลงไปแล้วปล่อยไว้สักพัก เสร็จแล้วก็กดชักโครกตามปกติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากน้ำยาล้างท่อมีฤทธิ์เป็นกรดอย่างรุนแรง ดังนั้นก่อนใช้ต้องมีการสวมถุงมือป้องกันน้ำยากระเด็นใส่ผิวหนังด้วย

10. เลือกใช้ชักโครกที่มีคุณภาพ

ข้อนี้นับว่าสำคัญมาก เพราะหากลองทำตามวิธีข้างต้นจนหมดแล้ว ปัญหาชักโครกกดไม่ลงก็ยังไม่หมดไปสักที เราขอแนะนำให้ลองเลือกซื้อชักโครกที่มีคุณภาพดีแต่แรก ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์ สุขภัณฑ์ห้องน้ำ Kudos ที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่แข็งแรงทนทาน มีระบบระบายน้ำที่ดี และที่สำคัญยังมอบบริการดี ๆ เช่น ติดตั้งโดยช่างที่มีความชำนาญ รวมถึงยังมีบริการหลังการขายซึ่งจะช่วยให้คำปรึกษาเราเมื่อเกิดปัญหาได้อีกด้วย

ปัญหาชักโครกกดไม่ลงถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกบ้าน ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงทำได้ไม่ยาก เช่นการใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ๆ ที่บ้านมากำจัดสิ่งอุดตันตามวิธีข้างต้น อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้เอง รวมถึงการเลือกซื้อชักโครกที่มีคุณภาพดีตั้งแต่ต้นถือว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาในระยะยาวได้อย่างดี

แนะนำอ่าน : โถสุขภัณฑ์ ส่วนสำคัญที่ต้องเลือกให้ดี!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *