เคล็ด (ไม่) ลับ เลือกสายฉีดชำระยังไงให้คงทน

เคล็ด (ไม่) ลับ เลือกสายฉีดชำระยังไงให้คงทน

ฟังก์ชั่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ ‘ห้องน้ำ’ คือการชำระล้างความอ่อนล้า คลายความกังวล และให้เราได้ถอดความเครียดที่แบกทั้งวันออกไป

การดูแลห้องน้ำให้สะอาดจึงเต็มไปด้วยดีเทลที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เพราะนอกจากจะต้องสะอาดและสบายตาแล้ว ก็ต้องมีฟังก์ชั่นที่ใช้ได้ในทุกจุดอีกด้วย ลิสต์กันไว ๆ ด้วยตาเปล่า เปิดเข้าห้องน้ำไป ก็จะมีโซนของอ่างล่างหน้าที่เราใช้ฉีกยิ้มโดยไม่ตั้งใจเพื่อแปรงฟัน กระจกเหนืออ่างล่างหน้าเพื่อส่องดูหน้าสดครั้งแรกของวัน ย้ายไปฝั่งอาบน้ำก็มีเรื่องของฝักบัว ยังไม่นับว่าถ้าทุกคนมีอ่างอาบน้ำให้ลงไปแช่ตัวอีกนะ 

และแน่นอน สิ่งสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้ในส่วนของสุขภัณฑ์ นั่นคือ ‘สายฉีดชำระ’

ทางยุโรปเรียกสิ่งนี้ว่า Bidet Sprays หรือ Bidet Horse และในวัฒนธรรมเอเชียอย่างเรา ๆ รู้กันอยู่ว่าเจ้าสายฉีดชำระเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน (มากกก) ขนาดไหน สถาปนิกมักจะพูดเสมอว่า “โปรดเลือกสายชำระที่ดีเพื่อชีวิตสุขภัณฑ์ที่ดีของตัวคุณเอง” 

ในบทความนี้ Kudos จะมาแชร์เคล็ด (ไม่) ลับ เพื่อให้ทุกคนเลือกสายฉีดชำระได้อย่างถูกต้อง รู้ปัญหาที่อาจจะต้องพบเพื่อเตรียมตัวแก้ไข ไปจนถึงวิธีการดูแลรักษาสายฉีดชำระให้ใช้ไปได้นาน ๆ เพื่อมั่นใจได้ว่าเราจะได้มีประสบการณ์ที่ดีที่สุดเวลาได้ใช้สุขภัณฑ์ที่ดี

108 ปัญหาของสายฉีดชำระที่ทำเอาปวดหัว

108 ปัญหาของสายฉีดชำระที่ทำเอาปวดหัว

 

เราทุกคนต่างมีปัญหากับสายฉีดชำระเป็นของตัวเอง แต่ทว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นล้วนเชื่อมโยงกันอย่างแน่นอน

เมื่อใช้สายฉีดชำระเป็นเวลายาวนานจนถึงเวลาเสื่อมอายุขัย หรือแย่กว่านั้นคือเราอาจจะเลือกของที่ไม่มีคุณภาพมาโดยไม่รู้ตัว ปัญหาที่มักจะเจอเป็นลำดับแรกคือ ก้านกดหักจนควบคุมความแรงของน้ำไม่ได้, สายส่งน้ำรั่วเพราะเกิดจากการงอผิดรูปเป็นเวลานาน, หัวฉีดแตกเพราะกระแทกกับพื้น แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้เกิดจากอุปกรณ์ไม่แข็งแรงอย่างเดียวเสมอไปเพราะพฤติกรรมในการใช้งานเองก็มีส่วนสำคัญ ต้องสังเกตว่าเราวางสายฉีดไม่ดีทำให้สายฉีดตกพื้นบ่อย ๆ หรือรุนแรงงอสายยางจนเกิดการเสียหายหรือเปล่า ถ้าเราระวังในรื่องการใช้งาน สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาได้เหมือนกัน

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ของปัญหาข้อนี้ อย่างแรกคือ สายฉีดชำระเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานผ่านน้ำตลอดเวลา ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดความสกปรกในรูปแบบของตะไคร่และเป็นสนิม ในกรณีที่สายฉีดทำจากโครเมียมหรือสแตนเลส ก่อให้เกิดผลเสียต่อการใช้งาน ข้อถัดมาเป็นเพราะว่าสายฉีดชำระมีขึ้นเพื่อใช้ชำระล้างจุดซ่อนเร้นของร่างกาย ทำให้สะสมคราบสกปรกจำนวนมาก เมื่อนานวันเข้าก็กลายเป็นเชื้อโรคหรือไวรัสแบคทีเรียต่าง ๆ มีการศึกษาพบว่าในบริเวณที่จับของสายฉีดเป็นแหล่งเกิดเชื้อโรคได้มากที่สุด โดยเฉพาะเชื้อโรคที่เรียกว่า ‘อีโคไล (Escherichia Coli)’ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคท้องเดิน และโรคอุจจาระร่วง

ปัญหาคลาสสิกที่สุดของมนุษย์สายชำระทุกคนคือน้ำรั่วซึม ไม่ว่าน้ำจะรั่วจากข้อต่อตรงหัวฉีด รั่วจากสายยางส่งน้ำ เรียกว่ารั่วทีพื้นห้องน้ำไม่เคยแห้งอีกเลย คำถามคือ สาเหตุของปัญหานี้คืออะไร ?

1. เพราะชุดสายฉีดชำระที่เราติดตั้งไม่สามารถรับแรงดันของน้ำได้ ซึ่งถ้าเลือกสายยางไม่เหมาะสม ในกรณีที่แย่ที่สุดอาจจะทำให้ตัวสายหลุดออกจากกัน จนน้ำพุ่งออกมาจากก๊อก

2. ไม่ได้ติดตั้ง ‘สต็อปวาล์ว (Stopvalve)’ หรือ ‘มินิบอลวาล์ว (Mini Ball Valve)’ อุปกรณ์ซึ่งมีหน้าที่ปรับความแรงของน้ำและลดการรั่วซึมได้ด้วย (เป็นไอเท็ม Must Have เลยล่ะ) เพื่อจัดการกับปั๊มน้ำในบ้านที่มีแรงดันน้ำสูง

น้ำซึมว่าแย่แล้ว เจอน้ำไหลไม่เป็นดั่งใจยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก เพราะว่าแต่ละบ้านและคอนโดตั้งค่าแรงดันของปั๊มน้ำไม่เท่ากัน การติดตั้งสต็อปวาล์วที่ช่วยควบคุมแรงดันน้ำก็ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ถ้าปัญหาน้ำเบาของทุกคนมาจากการที่หัวฉีดอุดตันจากคราบสกปรก ก็จัดการทำความสะอาดแก้ไขได้เลย ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องเลือกสายฉีดชำระที่วัสดุได้มาตรฐาน ซัพพอร์ตกับแรงดันน้ำในปริมาณที่เราใช้ได้ด้วยนะ ไม่งั้นก็อาจส่งผลกลับไปที่ปัญหาแรกทำให้สายฉีดน้ำเสียหายได้

เลือกสายฉีดชำระอย่างไรให้ถูกต้องและใช้งานได้ดี

เลือกสายฉีดชำระอย่างไรให้ถูกต้องและใช้งานได้ดี

 

จากปัญหา 108 ในหัวข้อก่อนหน้า ทุกคนก็น่าจะเดากันได้แล้วว่าจริง ๆ เจ้าสายฉีดชำระที่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้มีอะไรซับซ้อน กลับเป็นหนึ่งสิ่งในห้องน้ำที่ต้องคำนึงหลายอย่างเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เราจะมาแชร์เคล็ดลับการเลือกสายฉีดชำระที่ถูกต้องเพื่อให้ไม่ต้องปวดหัวภายหลัง โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้เพื่อน ๆ ได้เช็กลิสต์ตามกันไปทีละข้อได้เลย

โดยหลัก ๆ แล้ว ประเภทของสายฉีดชำระจะแบ่งตามวัสดุที่ใช้ผลิตเป็น 3 ชนิด ไล่เรียงจากความทนทานน้อยไปสู่ความทนทานมากที่สุด ดังนี้ 

  • พลาสติก : ข้อดีคือมีน้ำหนักเบา และเป็นสายฉีดที่มีราคาถูกที่สุด ไม่มีปัญหาสนิมกวนใจ แต่ก็ตามมาด้วยข้อเสียใหญ่โตคือ เปราะบางที่สุด อายุการใช้งานสั้นที่สุด และต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเช่นกัน
  • สเตนเลส : อัพเกรดความแข็งแรงขึ้นกว่าแบบพลาสติก พร้อมน้ำหนักที่มากขึ้นอีกสักหน่อย ซึ่งปัญหาสำหรับสายสเตนเลสคือ เมื่อใช้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดสนิมทั้งตัวที่จับและตรงหัวของสายฉีด
  • ABS ชุบโครเมี่ยม : สายฉีดชำระเกรดเยี่ยมที่หรูหราที่สุดกว่าวัสดุชนิดอื่น ๆ เป็นการเทอร์โมพลาสติกนำมาชุบเคลือบด้วยโครเมี่ยม และมีความแข็งแรงกว่าชนิดอื่น ๆ ด้วย 

และแน่นอนไม่ว่าคุณจะขอคำแนะนำจากช่างประปาหรือคนมีประสบการณ์เรื่องนี้คนไหน ทุกคนจะให้คำตอบเดียวกันว่า จงเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ

และ Kudos ก็ใส่ใจสุขอนามัยที่ดีของทุกคนมาโดยตลอด เราออกโปรดักส์สายฉีดชำระรุ่น KBB201C ซึ่งทำจากวัสดุคุณภาพสูง การไหลของน้ำได้รับการทดสอบ ปริมาตรน้ำอยู่ที่สูงสุดไม่เกิน 9 ลิตร/นาที เหมาะกับทุกความต้องการ แน่นอนว่าสายน้ำนั้นถึงจะไหลแรงแต่ก็ไม่บาดผิวอย่างแน่นอน ในส่วนของสายส่งน้ำนั้นทำจากพลาสติกเกรด A เสริมเส้นใยแก้ว หรือ EDPM เสริมเส้นใยแก้ว ที่สามารถทนทานต่อแรงดันน้ำสูงได้เป็นอย่างดี พร้อมความยาว 1.20 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่กำลังพอดี สายฉีดชำระที่ทุกห้องน้ำควรมี

“สิ่งที่ต้องคำนึงเพื่อการเลือกความยาวของสายส่งน้ำคือต้องรู้ก่อนว่าห้องน้ำมีขนาดกว้างแค่ไหน”

โดยมาตรฐานแล้วความยาวของสายส่งน้ำจะอยู่ที่ 120 เซนติเมตร หากเราเลือกสายยาวเกินความจำเป็น ข้อเสียคือ สายจะไปกองอยู่ที่พื้นจนทำความสะอาดห้องน้ำได้ยากขึ้น ถ้าสายงอนาน ๆ เข้าก็อาจทำให้รั่วได้อีก แต่ถ้าสายสั้นเกินไปจนทำให้ตึงก็ใช้งานได้ยาก และอาจทำให้ข้อต่อเกิดการชำรุดจนหลุดออกมาได้

เราควรติดตั้งให้สายอยู่สูงเหนือจากพื้นที่ประมาณ 45 เซนติเมตร ให้ห่างจากชักโครกในระยะที่แขนสามารถเอื้อมถึงได้ไม่ลำบากเกินไป อีกสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงมาก ๆ คือ การเลือกติดสายฉีดชำระด้านซ้ายหรือขวาของสุขภัณฑ์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดและระยะของตัวสต็อปวาล์วที่ติดตั้งด้วย 

ความสำคัญของการเลือกลักษณะหัวกดของสายฉีดชำระคือ เป็นส่วนที่กำหนดความแรง-เบา ความต่อเนื่อง และความลื่นไหลของน้ำที่ออกมาจากสายฉีด เป็นอีกสิ่งที่ต้องลองใช้เพื่อหาความเหมาะสมให้กับตัวเอง โดยหัวกดจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ 

  • หัวแบบก้านกด (หัวกดที่อยู่ด้านนอก) : เป็นแบบที่เราพบเจอได้บ่อยที่สุด หรือจะเรียกว่าเป็นแบบคลาสสิกก็ว่าได้ เพราะว่าเป็นวิธีการกดน้ำแบบแรกของสายฉีดชำระเลย ข้อดีของก้านกดคือใช้งานง่าย อยู่ฝั่งตรงข้ามกับหัวฉีดทำให้โอกาสมือเปียกน้ำยาก บังคับการไหลของน้ำได้ง่าย ข้อเสียคือหากวัสดุไม่ดีพอหรือใช้ไม่ระวัง ตัวก้านหักคือจบกันเลย
  • หัวกดแบบปุ่มกด (หัวกดด้านใน) : หัวกดสมัยใหม่ที่มีลูกเล่นงานดีไซน์มากขึ้น เพื่อแก้ Pain Point เรื่องก้านกดหักทิ้งไปเลย ในหัวกดแบบปุ่มสมัยใหม่มีฟังก์ชั่นให้น้ำไหลยาว ๆ โดยที่เราไม่ต้องเอามือไปกดค้างไว้ได้ด้วย เรียกว่าสะดวกมาก ๆ

เพราะว่าสายฉีดชำระเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเพื่อฉีดน้ำ ทำงานกับแรงดันของน้ำตลอดเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทั้งตัว ‘สายฉีดชำระ’ และ ‘สายส่งน้ำ’ ต้องทำจากวัสดุอย่างดีเพื่อสามารถรับแรงดันของน้ำได้ ไม่งั้นอาจเกิดความเสียหายตามปัญหา 108 ข้อที่เราเขียนเอาไว้ได้

วิธีการเช็กสายฉีดชำระและสายส่งน้ำนั้น การจะไปเช็คว่าปั๊มน้ำของคอนโดหรือบ้านทำงานด้วยค่าแรงปั๊มเท่าไหร่ดูจะเป็นเรื่องยากเกินไป เพราะฉะนั้นให้เลือกสายฉีดชำระรุ่นที่ระบุรายละเอียดการรองรับแรงดันน้ำมาด้วยจะดีที่สุด ซึ่งหน่วยวัดคือ ‘บาร์’ สมมุติว่ารองรับแรงดันน้ำ 1 บาร์ หมายถึงสามารถรับแรงดันน้ำได้ที่ประมาณ 10 เมตร (ในกรณีที่น้ำไหลจากท่อในแนวตั้งฉาก) 

*ข้อควรรู้ : แรงดันของน้ำประปาทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 บาร์ ส่วนคอนโดที่ใช้ปั๊มน้ำก็จะมีแรงดันที่ไม่เกิน 3 บาร์*

ติดตั้งสายฉีดชำระแบบไม่ต้องเสียใจทีหลัง

เคล็ด (ไม่) ลับข้อสุดท้าย คือ การเตรียมตัวก่อนติดตั้งสายฉีดชำระ เพราะติดสายชำระไม่ถูกต้องกับพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำของตัวเองคือฝันร้าย เพราะไม่มีอะไรที่แย่กว่าการใช้สุขภัณฑ์แบบฟังก์ชั่นไม่ตอบโจทย์กับตัวเองอีกแล้ว 

ทดลองสายฉีดชำระก่อนซื้อคือสิ่งสำคัญ ! : แนะนำให้เลือกร้านหรือห้างที่ให้เราสามารถลองใช้สายฉีดชำระได้เป็นอันดับแรกเสมอ จุดที่ต้องเช็คหลัก ๆ คือ สามารถฉีดน้ำได้ไหลลื่น ต่อเนื่องไม่สะดุด น้ำแรงแต่ไม่แรงเกินจนทำให้เจ็บผิว (เชื่อว่าบางคนที่มีประสบการณ์ “สะดุ้ง” กันมาบ้าง ซึ่งเชื่อว่าเป็นอะไรที่เราไม่อยากเจอเเน่นอน) ซึ่งก็คือดูที่น้ำออกเป็นสายเส้นใหญ่ แต่ถ้าไม่สามารถหาที่มีให้ลองสายฉีดชำระได้จริง ๆ ให้ดูที่รูของหัวฉีด หลักการเดียวกับฝักบัวอาบน้ำเลย ยิ่งรูเล็กสายน้ำที่ออกมาก็จะออกมาเป็นเหมือนเข็มทิ่มผิว แต่ถ้ารูมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นสายน้ำก็จะออกมากว้างและถนอมผิวกว่านั่นเอง 


เลือกจุดติดตั้งตามความถนัดในการใช้งาน : ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับการติดตั้งโถสุขภัณฑ์กันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะชิดหรือฝังไปกับผนังด้านหลังก็ตาม ข้อคำนึงต่อมาที่ต้องคิดเลยคือ เราจะติดสายฉีดชำระตรงผนังด้านข้างหรือด้านหลังของโถสุขภัณฑ์ และจะเอาไว้ด้านซ้ายมือหรือขวามือ ทั้งนี้ล้วนขึ้นอยู่กับความสะดวกทั้งสิ้น เมื่อเลือกจุดได้แล้ว การจัดสายส่งน้ำให้เป็นระเบียบไม่พันไม่งอ รวมถึงการวางสายฉีดชำระไว้บนที่แขวนให้เป็นระเบียบตลอดเวลา ก็ช่วยให้การใช้งานสะดวกราบรื่น พร้อมยืดอายุการใช้งานให้อุปกรณ์ได้อีกด้วย

อย่างที่เราบอกไปกันตั้งแต่ตอนต้น ห้องน้ำที่ดีต้องไม่ใช่แค่สวย แต่ทุกจุดต้องใช้งานได้แบบไม่ติดขัด สิ่งที่ดูเล็กน้อยที่สุดอย่างสายฉีดชำระก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราะการเลือกอย่างถูกต้อง หมายถึงสุขอนามัยที่ดียังไงล่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *