มลพิษทางอากาศ ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

มลพิษทางอากาศ ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

หนึ่งในภัยร้ายในการใช้ชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ที่จะหนีอย่างไรก็หนีไม่พ้นเลยก็คือปัญหา “มลพิษทางอากาศ” ที่นับวันยิ่งส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองอย่างกรุงเทพมหานครที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งยังมีปัญหารถติด การก่อสร้างที่มีอยู่แทบจะทุกพื้นที่ ทำให้อากาศเต็มไปด้วยฝุ่นควันและมลพิษ ซ้ำร้ายยิ่งมีปัญหาโลกร้อนจากทั่วโลกที่ไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลงทำให้เกิดภัยทางสภาพอากาศรูปแบบใหม่ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในทุกวันนี้ นั่นคือ ฝุ่น PM 2.5 ดังนั้นเราจึงควรหาตัวช่วยมาเฝ้าระวังให้ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้ให้น้อยที่สุดเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ปัญหามลพิษทางอากาศคืออะไร ?

ปกติแล้วในชั้นบรรยากาศของเราจะประกอบไปด้วยก๊าซและสารต่าง ๆ เช่น ก๊าซออกซิเจน หรือไนโตรเจน ฝุ่นละออง ไอน้ำ ซึ่งสารเหล่านี้จะมีอยู่ในปริมาณคงที่และพอเหมาะ แต่เมื่อมีพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การขับขี่ยานพาหนะ การก่อสร้าง การทำโรงงานอุตสาหกรรม ที่มักจะปล่อยของเสียสู่ชั้นบรรยากาศตลอดเวลา เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสาร CFCs เป็นต้น ทำให้สารข้างต้นในชั้นบรรยากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง นำมาสู่ปัญหาภาวะโลกร้อน และอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ 

ที่ผ่านมาเราอาจไม่ได้ตระหนักถึงภัยจากมลพิษเท่าที่ควร เนื่องจากปกติเราก็ไม่ได้เห็นด้วยตาเปล่า หรือรับรู้กันสักเท่าไรนักว่าก๊าซไนโตรเจนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเท่าไหน อีกทั้งยังไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน แต่เมื่อ 2-3 ปีก่อน เมื่อมีการกล่าวถึง PM 2.5 เพิ่มขึ้นและผู้คนเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติในร่างกาย เช่น คอแห้ง เจ็บคอ หรือแสบตา เราจึงเริ่มหันมาสนใจกันมากขึ้นว่า ขณะนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งนับเป็นภัยรูปแบบใหม่ที่ส่งผลอันตรายกว่าที่เราคิด

ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI)

หากจะดูค่ามลพิษในอากาศซึ่งเรามองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าแบบเข้าใจง่าย ๆ ทางกรมควบคุมมลพิษจะมีการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศ (Air quality Index) ของประเทศไทย โดยแบ่งดัชนีมลพิษที่นับว่าเป็นภัยต่อสุขภาพเอาไว้ 6 ชนิด ได้แก่

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ PM 2.5 สามารถทะลุเข้าไปถึงชั้นถุงลมในปอดได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้เป็นโรคปอดเสื่อม หลอดลมอักเสบ หรือหอบหืด
  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน หรือ PM 10 จะเข้าไปสะสมในทางเดินหายใจ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
  • ก๊าซโอโซน (O3) ทำให้เกิดการระคายเคืองตาและทางเดินหายใจ ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่าย
  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) จะทำให้หัวใจทำงานหนัก ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ กระทบต่อการมองเห็น
  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่ผิวหนัง เยื่อบุตา และทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

คำแนะนำสำหรับประชาชนในการปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากมิลพิษทางอากาศ

Ref : www.iqair.com

กรมควบคุมมลพิษจะแบ่งระดับคุณภาพอากาศเอาไว้สำหรับแจ้งข้อมูลให้กับประชาชน ระดับดัชนี 0-50 คืออากาศดี แต่เมื่อไรที่ค่าพุ่งขึ้นไปมากกว่า 151 นั่นหมายความว่าอากาศที่เราอยู่นั่นกำลังย่ำแย่ และควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งผลกระทบต่อร่างกายที่มักเกิดขึ้นเมื่อค่ามลพิษทางอากาศเกินกว่ามาตรฐานก็คือ ในระยะสั้นเราจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ หากแต่ระยะยาว เมื่อมีการสูดดมมลพิษ หรือรับฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าไปถึงภายในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคในหลอดเลือดสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด หรือแม้แต่เด็กที่เกิดใหม่ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากแม่ก็อาจทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ ต้องคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ค่า AQI มักจะเน้นตรวจจับมลพิษจากสถานีวัดคุณภาพอากาศซึ่งติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ดังนั้นการแจ้งเตือนจึงเน้นไปที่การงดหรือหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมภายนอกบ้าน ซึ่งนับว่าช่วยลดความเสี่ยงให้เราได้ระดับนึง แต่อย่าลืมนะคะว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และสารมลพิษอื่น ๆ ที่เรามองไม่เห็นสามารถแทรกซึมอยู่ได้ในทุก ๆ ที่ไม่เว้นแม้แต่ภายในอาคาร ซ้ำยังมีสารพิษอื่น ๆ ที่แฝงอยู่กับเครื่องใช้ในบ้านเราแบบไม่รู้ตัว อย่างเช่น สารอินทรีย์ระเหยง่ายหรือ VOCs

มลพิษทางอากาศ ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

มลพิษในอาคาร กับสาร VOCs ที่ไม่ควรมองข้าม

แน่นอนว่าการอยู่ในอาคารย่อมปลอดภัยจากมลพิษมากกว่าอยู่นอกบ้านอยู่แล้ว แต่ก็อย่าลืมว่า พวกฝุ่นละอองที่มีอณูเล็ก ๆ ก็ยังสามารถแทรกซึมเข้ามาอยู่กับเราได้ทุกที่ หลายคนจึงอาจแก้ปัญหานี้ด้วยการซื้อเครื่องฟอกอากาศมาติดตั้งไว้ภายในบ้าน แต่หารู้ไม่ว่ามลพิษที่เราจะต้องเจอภายในอาคาร ไม่ได้มีแค่ฝุ่นละอองเท่านั้น และเครื่องฟอกอากาศส่วนใหญ่ก็มีแค่คุณสมบัติลดฝุ่นละอองเฉย ๆ เสียด้วย

สีทาบ้าน หมึกพิมพ์ เทียนหอม น้ำยาทำความสะอาด แอลกอฮอล์ และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมายที่มีกลิ่นแรงและเราต้องใช้ภายในบ้านล้วนอุดมไปด้วยสารเคมี หนึ่งในนั้นก็คือ สารอินทรีย์ระเหยง่ายหรือ VOCs

VOCs คือสารประกอบเคมีในรูปของสารระเหยที่มาจากของแข็งหรือของเหลว พบมากตามการเผาไม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะหรือโรงงานอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับสารมลพิษอื่น ๆ แต่ที่น่ากลัวคือมันยังมีอยู่ตามวัสดุอุปกรณ์ที่เราใช้กันในที่อยู่อาศัยด้วยอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นซึ่งจะมาในรูปของกลิ่นที่ฉุนจนเราแสบจมูก เคืองตา หรือหากใครไปสัมผัสเข้าก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ 

ในเมื่อมลพิษทางอากาศที่เรามองไม่เห็นมีอยู่ทุกที่ แต่มีหน่วยงานที่วัดและประเมินค่าต่าง ๆ ได้แค่ภายนอกเท่านั้น แล้วแบบนี้ ภายในอาคารที่เราใช้ชีวิตอยู่มากที่สุดอย่างบ้านหรือออฟฟิศล่ะ จะรู้ได้ยังไงว่ามีมลพิษอยู่ในระดับอันตรายมากน้อยแค่ไหน

02_uHoo-Advance-Air-Sensor

KUDOS uHoo ตัวช่วยวัดคุณภาพอากาศภายในบ้าน

ถ้ามีปัญหาแบบนี้ แค่เครื่องฟอกอากาศเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะลำพังแล้วเครื่องฟอกอากาศจะตรวจจับได้เฉพาะค่าฝุ่นละอองเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้หาตัวช่วยเสริมสำหรับวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารแบบครอบคลุมโดยด่วน 

“KUDOS uHoo Advance Air Sensor” เป็น gadget สุดล้ำสำหรับวัดคุณภาพอากาศที่วัดได้ทั้งฝุ่นละออง ก๊าซมลพิษ และสารอินทรีย์ระเหยในอากาศที่เรามองไม่เห็นได้แบบ Real-time และครบถ้วน มาในรูปแบบเครื่องทรงกระบอกสีขาวไซส์กะทัดรัด สามารถนำไปวางตามจุดต่าง ๆ ของบ้านหรือออฟฟิศได้แบบสะดวกสบาย ไม่ว่าจะห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องทำงาน

สำหรับเจ้า uHoo ตัวนี้ สามารถวัดค่าต่าง ๆ ในอากาศได้มากถึง 9 ค่าด้วยกัน ได้แก่

    • อุณหภูมิ
    • ความชื้น
    • ฝุ่น PM2.5
    • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
    • สารอินทรีย์ระเหย (VOC)
    • โอโซน 
    • ความดันอากาศ

และหากสารเหล่านี้มีปริมาณมากจนอากาศไม่บริสุทธิ์ขึ้นมา เครื่องก็จะส่งสัญญาณเตือนด้วยระบบ Notification แบบ real-time รวมถึงยังมีเทคโนโลยี Virus Index ที่จะช่วยตรวจดูว่า อากาศที่เรากำลังหายใจเข้าไปอยู่นั้นเอื้อต่อการเกิดไวรัสด้วยหรือเปล่า ซึ่งฟังก์ชันนี้จะช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสได้ และนอกจากจะช่วยวัดเรื่องมลพิษในอากาศแล้ว uHoo ยังสามารถให้คำแนะนำเราเกี่ยวกับสุขภาพและสาเหตุที่อาจทำให้เกิดมลพิษ จากฝีมือมนุษย์ และเรายังแชร์ข้อมูลเหล่านี้ต่อไปให้คนที่เรารักได้ด้วย 

ความฉลาดยังไม่หมดเท่านั้นเพราะ uHoo ยังสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ สมาร์ทโฮม อื่น ๆ ได้ ทั้ง Google Assistant และ Amazon Alexa หรือใครที่ใช้ smart device อยู่แล้วยิ่งสะดวกเข้าไปใหญ่ เพราะเจ้าเครื่องนี้ยังสามารถสั่งงานเครื่องฟอกอากาศหรือเครื่องปรับอากาศอัจฉริยะที่มีระบบ IFTTT ให้ทำงานอัตโนมัติเพื่อที่เราจะได้อยู่ท่ามกลางอากาศที่บริสุทธิ์ในอาคารได้ตลอดเวลา

ปัญหามลพิษในอากาศคือปัญหาหนักอกที่กระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวันของเรา และแน่นอนว่าหากเราอยู่ในสภาพอากาศไม่บริสุทธิ์ที่มีแต่ก๊าซพิษและฝุ่นควัน โรคร้ายต่าง ๆ ก็จะเริ่มถามหาไม่ในระยะสั้นก็ระยะยาว การประเมินคุณภาพอากาศในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วมีแต่ภายนอกอาคาร ทั้งที่ภายในอาคารบ้านเรือนหรือออฟฟิศซึ่งมีระบบปิดสามารถสะสมมลพิษและเชื้อโรคได้มากกว่าถึง 10 เท่าเลยทีเดียว เพราะเหตุนี้เราจึงควรมีอุปกรณ์ตัวช่วยวัดค่ามลพิษทางอากาศในตัวอาคาร อย่างเช่น เจ้า KUDOS uHoo ติดบ้านเอาไว้ด้วย รับรองเลยว่าทั้งคุณและคนที่คุณรักจะได้สูดอากาศบริสุทธิ์อย่างมั่นใจมากกว่าที่เคย.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *